ไขข้อสงสัย! โรคไส้เลื่อนคืออะไร ผู้หญิงเป็นไส้เลื่อนได้หรือไม่

 ใคร ๆ ก็บอกว่า ‘โรคไส้เลื่อน’ เป็นโรคของผู้ชาย กระทั่งมีคนพูดถึง ‘ไส้เลื่อนในผู้หญิง’ มากขึ้นจนเริ่มสับสนแล้วว่า ผู้หญิงเป็นไส้เลื่อนได้หรือไม่ ถ้าอยากรู้ไม่ควรพลาดบทความนี้!

 

 

ไขข้อสงสัย! โรคไส้เลื่อนคืออะไร ผู้หญิงเป็นไส้เลื่อนได้หรือไม่

 

เรื่องสุดช็อค! เมื่อสิ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันมาตลอดว่า โรคไส้เลื่อนเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับเฉพาะผู้ชายเท่านั้น กลับมีความเห็นแย้งขึ้นมาชวนให้สับสนเมื่อมีคนพูดถึงไส้เลื่อนในผู้หญิงมากขึ้นจนต้องมานั่งถกเถียงกันต่อว่า โรคไส้เลื่อนคืออะไร และที่สำคัญ ‘ผู้หญิงเป็นไส้เลื่อนได้หรือไม่’ ใครที่อยากรู้คำตอบของข้อสงสัยเหล่านี้ไม่ควรพลาดบทความนี้เด็ดขาด

 

โรคไส้เลื่อนคืออะไร


ถ้าโรคไส้เลื่อนไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่เฉพาะผู้ชายหรืออวัยวะเพศชาย งั้นสงสัยกันมั้ยว่า สรุปแล้วโรคไส้เลื่อนคืออะไรกันแน่ ล็อกใส่เรียนก็คือการที่เกิดภาวะลำไส้เล็กขยับตัวจากผนังกล้ามเนื้อหน้าท้องออกมาบริเวณอื่น เช่น ขาหนีบ สะดือ แผลผ่าตัด ฯลฯ แม้จะไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดอาการจุกไปจนถึงปวดแสบปวดร้อนและทรมานจนถึงขั้นต้องรีบผ่าตัดได้ เพราะงั้นไม่จำเป็นเลยว่า โรคไส้เลื่อนจะเกิดกับผู้ชายเท่านั้น แต่ไส้เลื่อนในผู้หญิงก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน เพียงแค่มีโอกาสพบไส้เลื่อนลงมาบริเวณขาหนีบหรือลูกอัณฑะได้บ่อยกว่าจุดอื่น คนก็เลยคิดไปว่า โรคไส้เลื่อนเกิดเฉพาะกับผู้ชายเท่านั้น

 

สรุปแล้ว ‘ไส้เลื่อนในผู้หญิง’ มีจริงหรือไม่


อีกหนึ่งข้อสงสัยที่ทำให้หลายคนยังคงเลื่อนอ่านมาจนถึงจุดนี้ก็คือไส้เลื่อนในผู้หญิงมีจริงหรือไม่คำตอบก็คือ ‘มีจริง’ ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคไส้เลื่อนได้ เพราะอย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า ไส้เลื่อนอาจเกิดได้หลายจุด ไม่ว่าจะตำแหน่งที่เคยผ่าตัด ขาหนีบ สะดือ หรืออื่น ๆ โลกไส้เลื่อนก็เลยมีโอกาสเกิดได้กับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เพียงแค่มีโอกาสพบเจอได้ในผู้ชายบ่อยกว่าด้วยลักษณะของร่างกายบริเวณขาหนีบของผู้ชายจะมีถุงอัณฑะน้อย ๆ เกิดช่องให้อ่อนแรงง่ายแล้วลำไส้เล็กขยับไปอยู่จุดนั้นได้ แต่ไส้เลื่อนในผู้หญิงมักจะเกิดจากการยกของหนักหรือผ่าตัดบริเวณท้องจนกล้ามเนื้อส่วนนั้นอ่อนแรงแล้วเกิดภาวะลำไส้เล็กเลื่อนไปในตำแหน่งนั้น

 

แต่ละตำแหน่งของไส้เลื่อนเกิดจากอะไร


หลังจากได้คำตอบไปแล้วอ่ะไส้เลื่อนในผู้หญิงมีจริงหรือไม่ เลยอยากชวนให้ทุกคนมาดูเพิ่มเติมกันว่า แต่ละตำแหน่งของโรคไส้เลื่อนเกิดจากอะไรได้บ้าง เผื่อบางทีอาจจะหาทางป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้

  • ขาหนีบ : ผนังหน้าท้องเกิดการอ่อนแรงและหย่อนตัวลง หรือเกิดความผิดปกติบริเวณรูเปิดหล่อเลี้ยงเลือดไปเลี้ยงอัณฑะของผู้ชาย
  • ต่ำกว่าขาหนีบ : โดยปกติแล้วมักจะไม่พบโรคไส้เลื่อนบริเวณนี้ จึงมักเกิดกับผู้ที่มีปัญหาช่อง femoral canal อ่อนแอแต่กำเนิดหรือเกิดความผิดปกติ
  • แผลผ่าตัด : คนที่เคยผ่าตัดแล้วแผลผ่าตัดยังไม่หายดีหรือร่างกายฟื้นฟูไม่เต็มที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเกิดไส้เลื่อน
  • ช่องเชิงกราน :  อีกหนึ่งไส้เลื่อนในผู้หญิงที่มีโอกาสพบเจอในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แม้โอกาสจะเกิดน้อยกว่าโรคไส้เลื่อนอื่น แต่ก็ต้องระวัง เพราะมีโอกาสที่อาการจะรุนแรงกว่าเกิดในตำแหน่งอื่น


นอกจากนี้ โรคไส้เลื่อนก็อาจเกิดในตำแหน่งอื่นหรือเกิดจากปัจจัยอื่นได้ เช่น ยกของหนักบ่อย, ระบบขับถ่ายไม่ค่อยดีจนต้องเบ่งเป็นประจำ, ภาวะอ้วน ฯลฯ

 

เชื่อว่า ทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้คงจะเข้าใจมากขึ้นว่า โรคไส้เลื่อนคืออะไร และเกิดขึ้นกับใครได้บ้าง ดังนั้น สาว ๆ เองก็อย่าชะล่า เพราะไส้เลื่อนในผู้หญิงมีอยู่จริง ควรดูแลและป้องกันจากปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ปรับพฤติกรรมไม่ใช้แรงแบกของหนักบ่อย, ปรับสมดุลระบบขับถ่าย, ระหว่างพักฟื้นหลังผ่าตัดหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก ฯลฯ รวมถึงทำประกันสุขภาพที่ใช่ คุ้มครองได้ครอบคลุมตอบโจทย์ทุกความต้องการ ไว้รองรับในวันที่เกิดปัญหาสุขภาพไม่คาดฝัน เพราะไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่า โรคไส้เลื่อนหรือโรคร้ายอื่น ๆ จะมาเยือนเมื่อไหร่ ศึกษารายละเอียดแผนประกันสุขภาพจาก 30 บริษัทประกัน พร้อมเปรียบเทียบหาแผนประกันตรงใจคุณที่นี่ คลิก!

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *